วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

All About Japan

ประเทศญี่ปุ่น

http://www.tpa.or.th/jsociety/Bpic/ContentImg1150.jpg


ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น
พื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 378,000 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งหมู่เกาะต่าง ๆ กว่า 6800 เกาะ
ประชากร มี 127 ล้านคน
เมืองหลวง คือ โตเกียว มีประชากร 12 ล้านคน
ภาษาประจำชาติ คือ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่มีสอนในโรงเรียนตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป
ศาสนา ชินโตและพุทธ เป็น 2 ศาสนาหลัก
ภูมิอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป อากาศอบอุ่น แต่เนื่องจากพื้นที่ของประเทศแผ่ออกไปตามความยาวถึง 3,000 กิโลเมตรจากเหนือจรดใต้ดังนั้นจึงย่อมจะมีความแตกต่าง ของภูมิอากาศไป บ้างในบางท้องถิ่นตลอดหนึ่งขวบปี ภาคเหนือสุดอากาศค่อนไปทาง หนาวจัด ทาง ใต้สุดค่อนไปทางใกล้เขตร้อน ปริมาณฝนมากที่สุดในแทบทุกภาค อยู่ในช่วงฤดูฝน ราวกลางเดือนถุนายนถึงกลาง เดือนกรกฏาคม

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ด้านฝั่งตะวันออกของทวีปเอเชีย หรือทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะญี่ปุ่นทอดตัวเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว จากทางตอนเหนือที่ละติจูด 45 องศา 33 ลิปดาเหนือ มาทางใต้ ที่ละติจูด 20 องศา 25 ลิปดาเหนือ โดยมีความยาวทั้งสิ้น 3,800 กม.

ลักษณะภูมิประเทศ เป็นประเทศหมู่เกาะ ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยประมาณ 3,900 เกาะ โดยมีเกาะใหญ่ที่สำคัญ 4 เกาะ คือ

1) ฮอกไกโด (83,517 ตารางกม.)
2) ฮอนชู (231,012 ตารางกม.)
3) ชิโกกุ (18,800 ตารางกม.)
4) กิวชู (44,379 ตารางกม.)

ลักษณะ ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขา โดยร้อยละ 71 ของพื้นที่ทั้งหมดของญี่ปุ่นเป็นภูเขา ในขณะที่มีพื้นที่ราบเพียงร้อยละ 25 ซึ่งใช้เป็นพื้นที่ทางการเกษตรได้เพียงร้อยละ11 เท่านั้น ญี่ปุ่นมีภูเขาไฟมากประมาณ 1 ใน 10 ของทั้งโลก โดยมีภูเขาฟูจิเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ (3,776 เมตร) และเป็นภูเขาไฟที่สงบอยู่แต่ยังไม่ดับ และจากการที่ญี่ปุ่นอยู่ในเขตที่มีภูเขาไฟมาก ทำให้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเสมอ

พื้นที่ ประมาณ 377,835 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยผืนดิน 374,744 ตารางกิโลเมตร และผืนน้ำ 3,091 ตารางกิโลเมตร

พื้นที่ชายฝั่งทะเล 29,751 กิโลเมตร

ประชากร ประมาณ 126.97 ล้านคน (พฤษภาคม 2545) อัตราการเติบโตของประชากร คือ ร้อยละ 0.15 (2545) ซึ่งนับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของโลก ความหนาแน่นของประชากรประมาณ 336 คน/ตร.กม.

เชื้อชาติ เชื้อชาติญี่ปุ่น ในทางประวัติศาสตร์เชื่อกันโดยทั่วไปว่าบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นได้แก่กลุ่ม เผ่าพันธุ์หนึ่งที่เรียกในปัจจุบันว่า เผ่าพันธุ์ยามาโตะ ผสมกับคนที่อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ จีนและเกาหลี ปัจจุบันคนต่างชาติกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในญี่ปุ่น ได้แก่ ชาวเกาหลีและชาวจีน รวมทั้งเผ่าไอนุ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นไม่ถือว่าประเทศของตนมีชนกลุ่มน้อย

ศาสนา ศาสนาใหญ่ ๆ มี 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ และศาสนาชินโต นอกจากนั้นได้แก่ ศาสนาคริสต์และลัทธิขงจื้อ

ภาษา ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการ

การศึกษา ภาคบังคับ 9 ปี

อัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 99.9

วันชาติ วันที่ 23 ธันวาคม: วันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ (พ.ศ. 2476 หรือ ค.ศ. 1933)

เมืองหลวง กรุงโตเกียว (Tokyo)

ภูมิอากาศ มี 4 ฤดูหลัก ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ
ฤดูใบไม้ผลิ : (มีนาคม-พฤษภาคม) อากาศอบอุ่น
ฤดูร้อน : (มิถุนายน-สิงหาคม) อากาศร้อนชื้นโดยมีช่วงฤดูฝนสั้น ๆ ประมาณ 1 เดือน ในช่วงต้นฤดู
ฤดูใบไม้ร่วง : (กันยายน-พฤศจิกายน) อากาศอบอุ่น โดยมีพายุไต้ฝุ่นมากในช่วงเดือนกันยายน
ฤดู หนาว : (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) อากาศหนาว มีหิมะตกมากทางภาคเหนือของประเทศและฝั่งทะเลญี่ปุ่น ส่วนทางใต้และฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก อากาศจะอบอุ่นกว่า
คลิกที่นี่เพื่อดูพยากรณ์อากาศวันนี้และอีก 10 วัน ที่กรุงโตเกียว

การเมืองการปกครอง
รูปแบบการปกครอง ระบอบเสรีประชาธิปไตย โดยมีรัฐสภาเป็นสถาบันสูงสุดของรัฐ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้มีการบัญญัติไว้ว่าสมเด็จพระ จักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ

ประมุข สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ (His Majesty Emperor Akihito)

รัฐสภา เรียกชื่อว่า “สภาไดเอท” ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีสมาชิก 480 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และวุฒิสภา ซึ่งมีสมาชิก 252 คน มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยเลือกตั้งจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุก 3 ปี คลิกที่นี่เพื่อดูรูป
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายโยเฮ โคโนะ (Yohei Kono)
- ประธานวุฒิสภา นายฮิโรยุกิ คุราตะ (Hiroyuki Kurata)

การปกครองท้องถิ่น ญี่ปุ่นแบ่งเขตการปกครองท้องถิ่นออกเป็น 47 จังหวัด (Prefecture) ซึ่งรวมกรุงโตเกียว (Tokyo Metropolis) ด้วย การปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดแยกออกเป็น นคร เมือง และหมู่บ้าน ยกเว้นกรุงโตเกียวที่มีเขตการปกครอง เฉพาะในส่วนใจกลาง 23 เขต นอกเหนือไปจากเขตชานกรุง ซึ่งประกอบด้วย 27 นคร 5 เมือง และ 8 หมู่บ้าน ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีของนครขนาดใหญ่ ของเมืองและของหมู่บ้านตลอดจนสมาชิกสภาส่วนท้องถิ่นทุกระดับมาจากการเลือก ตั้ง

การเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรมีการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2546 วุฒิสภามีการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อ 29 กรกฎาคม 2544 โดยจะมีการเลือกตั้งสมาชิกครึ่งหนึ่ง ในทุก 3 ปี

พรรคการเมือง พรรคการเมืองที่สำคัญ ได้แก่

- พรรคเสรีประชาธิปไตย ( Liberal Democratic Party : LDP) เป็นพรรคแกนนำรัฐบาล
- พรรคนิว โคเมโต (New Komeito) เป็นพรรคร่วมรัฐบาล
- พรรคอนุรักษ์นิยมใหม่ (New Conservative Party หรือ Hoshushinto) เป็นพรรคร่วมรัฐบาล
- พรรคประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น (Democratic Party of Japan : DPJ : Minshuto) แกนนำฝ่ายค้าน
- พรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น (Social Democratic Party of Japan : SDP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน
- พรรคคอมมิวนิสต์ (Japan Communist Party - JCP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน

เศรษฐกิจการค้า

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 4,505 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2545) หรือ 540,607.9 พันล้านเยน และ 2,452 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 267,554 พันล้านเยนสำหรับสองไตรมาสแรกของปี 2546

เงินตรา สกุลเงินเยน (YEN: Y)

รายได้ประชาชาติ 28,000 ดอลลาร์สหรัฐ /คน/ ปี (ปี 2545)

อัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ 1.6 (ปี 2545) และร้อยละ 2.9 ในไตรมาสที่ 1 และร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่ 2 (ปี 2546)

อัตราการว่างงาน ร้อยละ 5.1 (ประมาณ 3.40 ล้านคน) (กันยายน 2546)

อัตราแลกเปลี่ยน ประมาณ 106 เยน ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (มกราคม 2546) หรือ 3 เยน ต่อ 1 บาท
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ –0.9 (ปี 2545)

สินค้าออก เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ต่าง ๆ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากโลหะเหล็กและเหล็กกล้า สิ่งทอ และเครื่องบริโภค

สินค้าเข้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อาหาร วัตถุดิบต่าง ๆ สิ่งทอ

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐฯ จีน สาธารณรัฐเกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง เยอรมนี และไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

ความสัมพันธ์กับไทย

ความสัมพันธ์ ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2430 (ค.ศ. 1887)

กลไกความสัมพันธ์

1) การประชุมประจำปีทวิภาคีด้านการเมืองและการทหารทวิภาคีระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวงการต่างประเทศของไทยกับญี่ปุ่น (Bilateral Political and Military Meeting)

2) การประชุมความร่วมมือทางวิชาการประจำปีไทย-ญี่ปุ่น

3) การประชุมหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (ชื่อเดิม คือ การประชุมปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น)

4) การประชุมคณะกรรมการความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (ภาคเอกชน)

การค้าไทยกับญี่ปุ่น
ญี่ปุ่น เป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 1 ของไทยในปี 2545 และ มีมูลค่าการค้าสองฝ่ายรวม 1,068,881 ล้านบาท (ประมาณ 24,857 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) การส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นในปี 2545 มูลค่า 429,425 ล้านบาท (ประมาณ 10,006 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงร้อยละ 3.01 เมื่อเทียบกับปี 2544 (442,492 ล้านบาท/9,945 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) คิดเป็นร้อยละ 14.5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย การนำเข้าจากญี่ปุ่น ในปี 2545 มูลค่า 639,456 ล้านบาท (ประมาณ 14,811 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.58 เมื่อเทียบกับปี 2544 (616,512 ล้านบาท/13,830 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) คิดเป็นร้อยละ 3 ของมูลค่าการนำเข้าของญี่ปุ่นทั้งหมด ในปี 2545 ไทยขาดดุลการค้าเป็นมูลค่า 210,031 ล้านบาท (ประมาณ 4,805 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.14 เมื่อเทียบกับปี 2544 (174,020 ล้านบาท/3,885 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบรถยนต์ เหล็กแผ่นรีดร้อน ไดโอด ทรานซิสเตอร์ ส่วนประกอบเครื่องยนต์ เครื่องจักรที่ทำงานเป็นเอกเทศ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เหล็กแผ่นชุบ รถบรรทุก แบบหล่อสำหรับโลหะและวัสดุ และอื่น ๆ


สินค้าส่งออกจากไทย เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ยางธรรมชาติ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม ไก่สดแช่เย็น เนื้อสัตว์ปรุงแต่ง อาหารทะเลแปรรูป ไดโอด ทรานซิสเตอร์ เครื่องรับโทรศัพท์และส่วนประกอบ เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง และอื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น