วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

All About The United States of America

สหรัฐอเมริกา

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4e/Statueliberty.JPG/290px-Statueliberty.JPG

ข้อมูลทั่วไป

ประเทศสหรัฐอเมริกา
( The United States of America )

ที่ตั้ง : ทวีปอเมริกาเหนือ โดยมีมลรัฐ Alaska อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา และ มีมลรัฐฮาวายอยู่ทางตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก

เนื้อที่ : มีเนื้อที่ประมาณ 9,629,091 ตารางกิโลเมตรหรือ 3,537,441 ตารางไมล์เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากรัสเซียและแคนาดา

อาณาเขตติดต่อ : ทิศเหนือ ติดกับ แคนาดา
ทิศใต้ ติดกับ เม็กซิโก
ทิศตะวันออก ติดกับ มหาสมุทรแอตแลนติก
ทิศตะวันตก ติดกับ มหาสมุทรแปซิฟิก

ภูมิอากาศ: อากาศหนาว เว้นแต่ในมลรัฐฮาวาย และมลรัฐฟลอริดา หนาวเย็นมากที่บริเวณขั้วโลกเหนือในมลรัฐอะแลสกา บริเวณที่ราบด้านตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi) จะค่อนข้างแห้งแล้ง และมีความแห้งแล้งมากบริเวณที่ลุ่มภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิต่ำในช่วงฤดูหนาว ซึ่งจะมีอากาศดีขึ้นเป็นครั้งคราวในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ โดยจะได้รับความอบอุ่นจากลมของเนินเขาด้านตะวันออกของเทือกเขาร๊อกกี้

ทรัพยากรธรรมชาติ : ถ่านหิน, ทองแดง, เกลือ, ยูเรเนี่ยม, ทองคำ, เหล็ก, ปรอท, นิเกิล, โปแตส, เงิน, วุลแฟรม, ทังสแตน, สังกะสี, ปิโตรเลี่ยม, ก๊าซธรรมชาติและป่าไม้ เป็นต้น

ประชากร : มีจำนวน 290, 342, 554 คน (กรกฎาคม 2546)

เชื้อชาติ :คนขาวร้อยละ 77.1
คนดำหรือคนแอฟริกันอเมริกันร้อยละ 4.2
คนอเมริกันอินเดียนและชาวอะแลสการ้อยละ 1.5
ชาวฮาวายเอียนและชาวเกาะแปซิฟิกร้อยละ 0.3
คนเชื้อชาติอื่น ร้อยละ 4

ศาสนา โปรเตสแตนท์ร้อยละ 56
โรมันคาทอลิก ร้อยละ 28
ยิวร้อยละ 2
อื่นๆร้อยละ 4
ไร้ศาสนาร้อยละ 10

ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ

วันชาติ : 4 กรกฎาคม

หน่วยเงิน : ดอลลาร์สหรัฐ US dollar (USD)

อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 35.90
เวลาต่างจากไทย : ฝั่งตะวันออก 12 ชั่วโมง ฝั่งตะวันตก 15 ชั่วโมง

การเมืองการปกครอง
ประวัติของประเทศสหรัฐ อเมริกาก่อกำเนิดขึ้นจากการประกาศอิสรภาพของรัฐอธิปไตย 13 มลรัฐ คำประกาศดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 และอังกฤษยอมรับเอกราชของชาติอเมริกาในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ 1789 ต่อมาในปีเดียวกัน รัฐเหล่านั้นจึงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อก่อตั้งสหพันธรัฐ โดยให้มีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง รัฐต่างๆมอบอำนาจอธิปไตยหลายประการให้รัฐบาลกลางที่กรุงวอชิงตัน แต่สงวนอำนาจบางประการไว้ เช่น อำนาจนิติบัญญัติและการคลังในระดับมลรัฐ ดังนั้น ทุกมลรัฐจึงมีวุฒิสภาและสภาผู้แทนของตนเอง ( ยกเว้นเนแบรสกา ซึ่งมีสภาเดียว ) และมีอำนาจเก็บภาษีผู้มีภูมิลำเนาในมลรัฐ

ชื่อประเทศ : ชื่อเต็ม United States of America เรียกว่า สหรัฐอเมริกา
ชื่อย่อ United States เรียกว่า สหรัฐฯ
อักษรย่อ US หรือ USA
ระบอบการปกครอง : สหพันธรัฐ (Federal Republic); แบบประชาธิปไตย
โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief Executive) ภายใต้รัฐธรรมนูญ
เมืองหลวง : กรุงวอชิงตัน (Washington,D.C.)
การแบ่งการปกครอง : ประกอบด้วย 50 มลรัฐและ 1 District (District of Columbia ซึ่งเป็นที่ตั้งของ กรุงวอชิงตัน) ได้แก่
Alabama, Alaska (เป็นมลรัฐที่ใหญ่ที่สุด), Arizona, Arkansas, California, Colorado, Connecticut, Delaware, District of Columbia, Florida, Georgia, Hawaii, Idaho, Illinois, Indiana, Iowa, Kansas, Kentucky, Louisiana, Maine, Maryland, Massachusetts, Michigan, Minnesota, Mississippi, Missouri, Montana, Nebraska, Nevada, New Hamshire, New Jersey, New Mexico, New York, North Carolina, North Dakota, Ohio, Oklahoma, Oregon, Pennsylvania, Rhode Island (เป็นมลรัฐที่เล็กที่สุด), South Carolina, South Dakota, Tennessee, Texas, Utah, Vermont, Virginia, Washington, West Virginia, Wisconsin, Wyoming
เขตการปกครองอื่นๆ : American Samoa, Baker Island, Guam, Howland Island, Jarvis Island, John Atoll, Kingman Reef, Midway Islands, Navassa Island, Northern Mariana Islands, Palmyra Atoll, Puerto Rico, Virgin Islands, Wake Island

ระบบกฎหมาย : อยู่บนรากฐานของกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ
สิทธิในการเลือกตั้ง : อายุ 18 ปีขึ้นไป
ประมุข ของประเทศ : นาย George Walker Bush เป็นประธานาธิบดี คนที่ 43 และหัวหน้ารัฐบาล เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2544 สังกัดพรรครีพับริกัน และมีนาย Richard B. Cheney เป็นรองประธานาธิบดี

โครงสร้างทางการเมือง
สหรัฐฯ มีพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พรรครีพับลิกัน (Republican) และพรรคเดโมเเครต (Democrat)
การ ปกครองแบบสหพันธรัฐ แบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ละฝ่ายได้รับเลือกในลักษณะที่แตกต่างกัน และมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (checks and balances) ดังนี้
ฝ่ายบริหาร : มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง ( Electoral College ) จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่างๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษา เอกอัครราชทูตและตำแหน่งต่างๆของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy Assistant Secretary) ขึ้นไป
ฝ่ายนิติบัญญัติ : ประกอบด้วย 2 สภา คือ
วุฒิสภา มี สมาชิกจากแต่ละมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 6 ปี โดยสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ครบวาระทุก 2 ปี วุฒิสภามีอำนาจให้ความเห็นชอบหรือปฎิเสธบุคคลที่ประธานาธิบดีแต่งตั้ง รวมทั้งคณะรัฐมนตรี และให้สัตยาบันสนธิสัญญา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง (President of the Senate) คือนาย Richard B. Cheney หัวหน้าฝ่ายเสียงข้างมาก (Majority Leader)ในวุฒิสภา ได้แก่ นาย Bill First (R-Tennessee) หัวหน้าฝ่ายเสียงข้างน้อย (Minority Leader) ได้แก่ นาย Thomas A. Daschle (D-South Dakota)
สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 435 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในมลรัฐ คือ ประชากร 575,000 คน ต่อ สมาชิก 1 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี ประธานสภา (Speaker of the House) ได้แก่ นาย Dennis Hastert (R-Illinois) ผู้นำเสียงข้างมาก คือ นาย Tom DeLay (R-Texas) ส่วนผู้นำเสียงข้างน้อย คือ นาย Nancy Pelosi (D-California)

ฝ่ายตุลาการ : ประกอบด้วย ศาลชั้นต้น (Curcuit Court) ศาลอุทรณ์ (Appeal Court)และศาลฎีกา (Supreme Court) ศาลฏีกามีอำนาจที่จะล้มเลิกกฏหมายใดๆและการปฎิบัติการของฝ่ายบริหารที่ได้ วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งมีทั้งหมด 9 คนนั้น ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง และดำรงตำแหน่งได้โดยไม่มีการกำหนดวาระ
วันเลือกตั้ง :การเลือกตั้งครั้งล่าสุด 7 พฤศจิกายน 2543
การเลือกตั้งครั้งต่อไป 2 พฤศจิกายน 2547

สถานการณ์การเมือง
สหรัฐฯ จะจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นทุก 4 ปี โดยก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี จะต้องมีการเลือกตั้งภายในพรรคเพื่อสรรหาตัวแทนพรรคที่จะลงชิงตำแหน่ง ประธานาธิบดีก่อน ทั้งนี้ ในส่วนของพรรครีพับลิกันนั้น นาย George W. Bush ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน จะเป็นผู้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง โดยไม่มีคู่แข่งภายในพรรค สำหรับพรรคเดโมแครต นาย John Kerry สมาชิกวุฒิสภา จากมลรัฐแมสซาซูเซตส์ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนมากที่สุด จึงได้เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตเพื่อลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

นโยบายของนาย Kerry
ใน การรณรงค์หาเสียงนาย Kerry เน้นนโยบายในเรื่องเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยพยายามกระตุ้นในเกิดการสร้างงาน มีนโยบายล้มเลิกนโยบายลดภาษีแก่คนรวยของประธานาธิบดี Bush เพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำและเพิ่มมูลค่าการลงทุนภายในประเทศของสหรัฐฯ ในระยะยาว รวมทั้งมีนโยบายควบคุมราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น นโยบายลดค่าเล่าเรียนเพื่อให้ประชาชนมีเงินออมสูงขึ้น นโยบายปกป้องสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญกับงานด้านสาธารณสุขมากขึ้น ส่วนนโยบายต่างประเทศนั้น นาย Kerry พยายามเน้นว่าตนมีความเชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศ โดยมีประสบการณ์กว้างขวางเกี่ยวกับทวีปเอเชียจึงจะให้ความสนใจกับปัญหาใน เอเชีย เช่น ปัญหาประชาธิปไตยในพม่า ปัญหาสิทธิมนุษยชนในจีนและเวียดนาม เป็นต้น นาย Kerry ยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเชื่อว่าการดำเนินนโยบายทางการทูตของสหรัฐฯ ในภาวะที่มีภัยจากการก่อการร้ายจะต้องเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ อย่างแท้จริง และเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับประเทศได้ ทั้งนี้
นาย Kerry ได้วิจารณ์ประธานาธิบดี Bush ว่าเป็นผู้นำประเทศเข้าสู่สงครามกับอิรักโดยไม่มีเหตุผลและหลักฐานที่ชัดเจน เกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างที่ว่า อิรักมีอาวุธร้ายแรง (WMD) ในครอบครอง ซึ่งถือเป็นอันตรายต่อนานาประเทศ และไม่สามารถรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยในอิรักได้ นอกจากนี้ นาย Kerry ยังได้วิจารณ์รัฐบาลของประธานาธิบดี Bush ว่าได้ลดความสำคัญของปัญหาการก่อการร้ายในตะวันออกกลางลง

นโยบายของประธานาธิบดี Bush
ประธานาธิบดี Bush ออกมาตอบโต้นโยบายของนาย Kerry ว่าพยายามขึ้นภาษี พร้อมทั้งชี้ให้ชาวอเมริกันเห็นว่าต้องเลือกระหว่างการคงนโยบายลดภาษีเพื่อ ผลักดันเศรษฐกิจหรือจะให้มีการใช้นโยบายขึ้นภาษีตามแนวทางของพรรคเดโมแคร ตซึ่งจะเป็นภาระของประชาชน ต้องเลือกระหว่างการที่จะให้สหรัฐฯ เป็นผู้นำโลกเพื่อให้เกิดความมั่นคงและความเข้มแข็ง หรือการเป็นประเทศที่อ่อนแออยู่ในสภาวะความหวาดกลัวจากภัยอันตราย และต้องเลือกระหว่างการคงไว้ซึ่งรัฐบาลที่สร้างโอกาสให้ประชาชนและมีความรับ ผิดชอบ หรือรัฐบาลที่ขูดรีดงบประมาณจากประชาชนตามอำเภอใจ
นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Bush ยังคงรักษาไว้ซึ่งนโยบายต่อต้านการก่อการร้าย โดยหยิบยกเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 มาใช้ในการหาเสียงอีกด้วย

นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ
ลำดับความสำคัญของนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ในปี 2547 ได้แก่
1. ปัญหาการก่อการร้าย สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นลำดับแรก โดยเฉพาะการจัดการกับกลุ่มก่อการร้าย Al-Qaeda ที่ยังคงมีความอันตรายอยู่ เนื่องจากสมาชิกของกลุ่มดังกล่าวยังคงหลบซ่อนตัวอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น การต่อต้านการก่อการร้ายจึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อระงับการติดต่อ สื่อสารระหว่างสมาชิกและการขจัดแหล่งเงินทุนของกลุ่มก่อการร้าย
2. ปัญหาอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapons of Mass Destruction – WMD) สหรัฐฯ แสดง
ความ พอใจที่อิหร่านและลิเบียได้เริ่มให้ความร่วมมือในเรื่องดังกล่าว ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือ ซึ่งสหรัฐฯ ได้ผลักดันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดกับจีน ญี่ปุ่น รัสเซีย และเกาหลีใต้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป
3. การส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัฟกานิสถานและอิรัก รวมทั้ง
เน้น การส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศที่ประชาชนยังขาดสิทธิเสรีภาพ อาทิ ในตะวันออกกลาง อิหร่าน และ คิวบา และประเทศประชาธิปไตยที่เกิดใหม่ต่างๆ ในลาตินอเมริกา ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ตามความตั้งใจของประธานาธิบดี Bush ที่จะส่งเสริมให้มีการปฏิรูประบบการเมือง เศรษฐกิจและการศึกษา ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้เล็งเห็นถึงบทบาทที่สำคัญขององค์การสหประชาชาติ และ NATO ในการช่วยเสริมสร้างสันติภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในประเทศต่างๆ เหล่านั้น
4. การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ เมื่อปี 2546 สหรัฐฯ ได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีกับหลายประเทศ อาทิ ชิลี สิงคโปร์ และประเทศต่างๆ ในอเมริกากลาง และในปีนี้ ประธานาธิบดี Bush ได้เพิ่มจำนวนประเทศที่จะเริ่มเจรจาความตกลงการค้าเสรีทั้งในระดับภูมิภาค และทวิภาคี โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ประเทศในตะวันออกกลาง
5. การแก้ไขปัญหาในภูมิภาคอื่นๆ สหรัฐฯ เล็งเห็นว่าเสรีภาพ สันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาไปด้วยกันเสมอ ดังนั้น สหรัฐฯ จึงพยายามช่วยแก้ปัญหาการเมืองภายในประเทศต่างๆ อาทิ ซูดาน ไลบีเรีย และไอร์แลนด์เหนือ เพื่อสร้างสันติภาพในประเทศเหล่านั้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการผลักดันกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพในตะวันออกกลาง

เศรษฐกิจการค้า
ระบบเศรษฐกิจ :ทุนนิยม ( Capitalism ) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินธุรกิจโดยที่รัฐจะเข้าแทรกแซงใน กิจการของเอกชนน้อย และสนับสนุนให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) :10,987.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2546)
(พ.ศ.2546)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ: ร้อยละ 3.1
อัตราการว่างงาน : ร้อยละ 5.6 (กุมภาพันธ์ 2547)
อุตสาหกรรม : สหรัฐฯ เป็นผู้นำทางภาคอุตสาหกรรมของโลก มีความหลากหลายสูงและมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาก เช่น ปิโตรเลียม เครื่องยนต์เครื่องบิน อุปกรณ์การสื่อสาร เคมีภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ป่าไม้ เหมืองแร่
ดุลการค้า : มูลค่า – 535,652 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2546)
การส่งออก : มูลค่า 723,743 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้า ส่งออก : ชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและวัตถุดิบ เครื่องบินและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องมือทางการแพทย์ ถั่วเหลือง
ประเทศคู่ค้าในการส่งออก : แคนาดา 169,481 ล้านดอลลาร์สหรัฐเม็กซิโก 97,457 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ญี่ปุ่น 52,064 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สหราชอาณาจักร 33,895 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เยอรมนี 28,848 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การนำเข้า: มูลค่า 1,259,396 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้านำเข้า : รถยนต์ รถบรรทุกและส่วนประกอบ น้ำมันดิบ คอมพิวเตอร์ เครื่องรับ
วิทยุและโทรทัศน์ ปิโตเลียมเหลวและก๊าซธรรมชาติ เพชร เฟอร์นิเจอร์
ประเทศคู่ค้าในการนำเข้า :แคนาดา 224,166 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จีน 152,379 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เม็กซิโก 138,073 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ญี่ปุ่น 118,029 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เยอรมนี 68,047 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปีงบประมาณ : 1 ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน

ภาวะเศรษฐกิจทั่วไปของสหรัฐฯ
สำนัก วิเคราะห์เศรษฐกิจ (Bureau of Economic Analysis) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ประกาศตัวเลขGDP ของปี 2546 มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 3.1
ปัจจัย ที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ซึ่งมีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจเพียงร้อยละ 2.2 คือ การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 ในช่วงไตรมาสที่ 3 การลงทุนสุทธิของภาคเอกชนภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 4.2 จากที่ในปี 2545 ติดลบร้อยละ 1.2 และการส่งออกขยายตัวร้อยละ 2.0 ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกหลังจากที่ติดลบมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2545 โดยการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 1.9 และการส่งออกบริการขยายตัวร้อยละ 2.3 อัตราการว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 5.6 จากที่เคยสูงสุดที่ร้อยละ 6.4 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 1 เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินสกุล หลัก

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา
1. ความสัมพันธ์ทั่วไป
1.1 ด้านการทูต
ไทย และสหรัฐฯ สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี 2376 ปัจจุบันไทยเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และมีสถานกงสุลใหญ่ 3 แห่ง คือ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทพฯ และสถานกงสุลใหญ่ประจำจังหวัดเชียงใหม่

1.2 ด้านการเมือง
ความ สัมพันธ์โดยทั่วไประหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา รวมทั้งความสัมพันธ์ทางการทหารและความมั่นคงรวมทั้งดำเนินไปด้วยความราบรื่น โดยเมื่อปี 2546 ประเทศไทยได้ตอบสนองความต้องการของสหรัฐฯ ในการส่งทหารไทยไปร่วมให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่อิรักจำนวน 443 คน และสหรัฐฯ ได้ประกาศให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต (Major Non NATA Alliance – MNNA) ของสหรัฐฯ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้กองทัพไทยสามารถจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์และเข้าถึง เทคโนโลยีทางการทหารต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ได้
อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับกรณีวิสามัญฆาตกรรม สืบเนื่องจากนโยบายการ
ปราบ ปรามยาเสพติดของไทย โดยสหรัฐฯ ต้องการให้ทางการไทยสอบสวนหาผู้กระทำผิด แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยแจ้งว่าจับกุมผู้ต้องสงสัยได้กว่า 50 ราย และอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของศาล แต่ฝ่ายสหรัฐฯ คงติดตามความคืบหน้าในเรื่องนี้
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ได้เร่งรัดให้ไทยลงนามเป็นภาคีในอนุสัญญาและพิธีสารของสหประชาชาติที่เกี่ยว ข้องกับการปราบปรามการก่อการร้ายระหว่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน ไทยได้ลงนามแล้ว 5 ฉบับ ยังคงเหลืออีก 7 ฉบับที่อยู่ระหว่างการพิจารณา และสหรัฐฯ ต้องการให้ไทยแก้ไขกฎหมายการปราบปรามการฟอกเงินเพื่อให้ครอบคลุมถึงการก่อ การร้าย ซึ่งไทยได้ดำเนินการในเรื่องนี้แล้ว

1.3 ด้านการค้า
การ ค้าระหว่างสหรัฐฯกับไทยในปี 2546 มีมูลค่ารวม 20,715.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ซึ่งมีมูลค่าการค้ารวม 19,656.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.39 และในปี 2546 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า คิดเป็นมูลค่า 6,520.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การส่งออกจากไทยไปยังสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกของไทยในปี 2546 คิดเป็นมูลค่า 13,618.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.80 จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2545
สินค้า ที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์ และยางพารา
ส่วนสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และแผงวงจรไฟฟ้า

การนำเข้าจากสหรัฐฯ มาไทย
ใน ปี 2546 ไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 7,097.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.46 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2545 ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 6,147.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์
การวัด การตรวจสอบ และการถ่ายรูป เมล็ดน้ำมันพืช เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง ทองคำ และเส้นใยใช้ในการทอ สินค้าที่ไทยนำเข้าลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า

1.4 ด้านการลงทุน
จาก สถิติเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิที่จัดเก็บโดยธนาคารแห่งประเทศไทย มูลค่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในปี 2546 มีจำนวนทั้งสิ้น 63,876 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วซึ่งมีมูลค่าทั้งสิ้น 44,929 ล้านบาท โดยมูลค่าเงินลงทุนสุทธิจากสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น –7,391 ล้านบาท สืบเนื่องมาจากปีที่ผ่านมาซึ่งมีเงินลงทุนสุทธิ – 10,131 ล้านบาท
จาก สถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โครงการลงทุนจากสหรัฐฯ ที่ได้รับการอนุมัติในปี 2546 มีจำนวนทั้งสิ้น 40 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนสุทธิ 24.57 พันล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับสาม รองจากญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป


2. ความตกลงสำคัญๆ กับไทย
1.บันทึกความตั้งใจตามโครงการติดตั้งศูนย์ข้อมูลบุคคล (PISCES) ลงนามเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547
2.Trade and Investment Framework Agreement ลงนามเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2545
3.กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ลงนามเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2544
4.ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ลงนามเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541
5.ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ ลงนามเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539
6.อนุสัญญา เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่ เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ลงนามเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2539
7.สนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญา ลงนามเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2529
8.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2527
9.สนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ลงนามเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2526
10.สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา ลงนามเมื่อวันที่
29 ตุลาคม 2525
11.ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ ลงนามเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2522
12.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2520
13.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ลงนามเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2514
14.สนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหรัฐฯ ลงนามเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2509
15.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิค ลงนามเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2493
16.สนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และการเดินเรือ ลงนามเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2480
17.หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี การค้า และพิกัด (ค.ศ. 1856) ลงนามเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2399
18.หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ค.ศ. 1833 ลงนามเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2376


ประชากร
ประชากรในประเทศอเมริกา มาจากหลายๆประเทศทั่วโลก โดยที่ แผ่นดินดั้งเดิมนั้น เป็นของคนอินเดียแดง ผู้อพยพรุ่นแรกๆ เป็นคนจากประเทศอังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ เพราะต้องการที่จะ แสวงหาโอกาสที่จะร่ำรวย เสรีภาพทางการเมืองและศาสนา ส่วนพวกคนดำหรือว่านิโกรถูกนำมาจาก ทวีปแอฟริกาในฐานะทาส

จนกระทั่งปี ค.ศ. 1863 ในสมัยประธานาธิบดีลินคอล์น ได้มีการประกาศใช้ Emancipation Proclamation ซึ่งเป็นการปรับสถานะของคนดำ ให้ทัดเทียม คนขาว เมืองที่มีคนดำอยู่อาศัยมากที่สุดคือ New York ในส่วนของชาว Hispanic หรือพวกเชื้อสายสเปน มีอยู่ประมาณ 8.3 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด ทุก ๆ ปี สหรัฐอเมริกาจะทำการสำรวจสำมะโนครัวประชากรและการอุตสาหกรรม เสียครั้งหนึ่ง เมื่อมีการสำรวจกันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2333 ประชากรมีน้อยกว่า 4 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่กัน แถบฝั่งตะวันออกของประเทศแต่ในปัจจุบันมีประชากรถึง 232.6 ล้าน


ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ชาวอเมริกัน อพยพไปฝั่งตะวันตกและ ภาคใต้ของประเทศ ขณะนี้มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ทางฝั่งแปซิฟิก มีประชากรมากที่สุด และมลรัฐนิวยอร์ค ทางฝั่ง แอตแลนติกเป็นอันดับสอง นครนิวยอร์คเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของอเมริกา ลอสแองแจลิส ในรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นนครใหญ่อันดับสอง ชิคาโกรัฐอิลลินอยส์เป็นที่สาม ฮิวส์ตันรัฐเท็กซัส เป็นที่สี่ ฟิลลาเดลเฟีย เป็นที่ห้า นครหลวงของประเทศคือ กรุงวอชิงตันดีซีเป็นเมือง ที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ส่วนในมลรัฐฮาวาย ชนเชื้อสายญี่ปุ่นมีมากกว่าหนึ่งใน สามของประชากรทั้งหมด

ภูมิประเทศ

สหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยภูมิประเทศหลายแบบ และ มีภูมิอากาศ เกือบทุกประเภท เนื่องจาก มีบริเวณอาณาเขต กว้างใหญ่ไพศาล ส่วนกว้างของแผ่นดินใหญ่จาก ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกไป จนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตก นับเป็นระยะทาง 4,500 กิโลเมตร ทิศเหนือจดประเทศแคนนาดา ทิศใต้จดประเทศแม็กซิโก และ อ่าวแม็กซิโก รถไฟด่วน 96 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง จะแล่นข้ามทั้งประเทศได้ก็ต้อง ใช้เวลา มากกว่า 45 ชั่วโมง หรือใช้เวลา ประมาณ 5 ชั่วโมง โดยเครื่องบินไอพ่น

อเมริกาประกอบไปด้วย 50 รัฐ และ Washington D.C. มีเนิ้อที่ประมาณ 3,787,319 ไมล์ ( เทียบได้กับขนาด 18 เท่าของขนาดพื้นที่ประเทศไทย) มีบริเวณรัฐที่ติดต่อกันรวม 48 รัฐ และรัฐ Alaska ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา และรัฐฮาวายซึ่งอยู่ใน มหาสุมทรแปซิฟิก และเมื่อรวมเอารัฐอลาสก้า และ ฮาวายเข้าด้วยกัน สหรัฐอเมริกา จะมีพื้นที่มากกว่า 9 ล้าน ตารางกิโลเมตร อลาสก้าเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในจำนวน 50 รัฐ รองลงมาคือ เท็กซัส ซึ่งอยู่ทาง ภาคใต้ของประเทศ เฉพาะ เท็กซัสรัฐเดียวก็ใหญ่ กว่าฝรั่งเศสทั้งประเทศแล้ว ส่วน อลาสก้านั้น ใหญ่กว่า เท็กซัสถึง 2 เท่า อย่างไรก็ตาม เราควรมาทำความเข้าใจ การใช้คำศัพท์เฉพาะ บางคำ ที่ชาวอเมริกันใช้ ในการเรียก ชื่อส่วนต่างๆ ของประเทศของเขาเสียก่อน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. New England คือ ส่วนที่ประกอบไปด้วยรัฐ Maine, New Hampshire, Vermont, Massachusetts, Rhode Island และ Connecticut

2.The Northeast คือ ส่วนที่อยู่ทางตะวันออกตอนเหนือของประเทศ ประกอบไป ด้วยรัฐต่างๆ ใน New England ผนวกกับรัฐ New Jersey, Pennsylvania, บางส่วนของรัฐ Delaware, Maryland และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี (Washington D.C.)

3. The Deep South หรือ ภาคใต้ตอนใน คือ ส่วนที่ประกอบไปด้วย Georgia, Alabama, Mississippi และบางครั้งอาจรวมถึงรัฐ Louisiana, South Carolina และตอนเหนือของรัฐ Florida ด้วย

4. The South หรือส่วนที่อยู่ทางตอนใต้ของ ประเทศอเมริกาทั้งหมด ประกอบไปด้วย ส่วนของ Deep South ผนวกเข้ากับรัฐ North Carolina, Virginia, Texas และมักจะหมายรวมถึงรัฐ Arkansas, Kentucky, Tennessee และ Florida เข้าไปด้วย หรืออาจรวมรัฐ Missouri, West virginis และ Oklahoma

5. The Midwest คือส่วนที่อยู่ทาง ตะวันตกตอนกลางของประเทศ ประกอบไปด้วยรัฐ Indiana, Illinois, Iowa และมักจะหมายรวมถึงรัฐ Michigan, Ohio,Minnesota, Wisconsin ด้วย บางครั้งอาจรวมถึงรัฐ Missouri, Kansas และ Nebraska

6. The Plains States คือ ส่วนที่เป็นพื้นที่ราบ รวมถึงรัฐ North Dakota, South Dakota, Nebraska, Kansas และอาจรวมถึงรัฐอีก 5 รัฐ คือ Iowa, Colorado, Oklahoma, Montana และ Wyoming

7. The Rockies หรือบางทีเรียกว่า Mountian West คือ ส่วนที่อยู่ในแถบเชิงเขา ตะวันตก ซึ่งมีเทือกเขา Rockie เชื่อมผ่าน อันได้แก่รัฐ Montana, Wyoming, Colorado, Idaho, และ Utah

8. The Southwest คือ ส่วนที่อยู่ทางตะวันตกตอนใต้ของประเทศ ได้แก่รัฐ Arizona, New Maxico และอาจหมายรวมถึง Nevada, Utah,Texas และทางตอนใต้ของ California ด้วย

9. The West คือ ส่วนที่อยู่ทางตะวันตกของประเทศ ได้แก่รัฐ Montana, Wyoming, ColoradoIdaho, Idaho, Arizona และอาจหมายรวมถึงรัฐ California, Oregon และ Washington ด้วย

10. The Northwest คือ ส่วนที่อยู่ทางตะวันตกตอนเหนือของประเทศ ได้แก่รัฐ Oregon, Washington และอาจรวมถึงรัฐ Idaho กับส่วนตอนเหนือของรัฐ California ด้วย

11. The West Coast หรือ Far West คือ ส่วนที่เป็นชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศ อันได้แก่รัฐ California, Oregon และ Washington


ภูมิอากาศ

ประเทศ อเมริกามีทั้งบรรยายกาศแถบขั้วโลกซึ่งหนาวติดลบ 40 องศา จนถึงบรรยายกาศ ที่ร้อนเหมือนทะเลทราย 45 องศา โดยทั่วไปแล้ว สำหรับแถบตอนกลางของประเทศ อากาศในฤดูร้อน และฤดูหนาว จะต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยมีอากาศหนาวที่สุด ช่วงเดือน มกราคม และร้อนที่สุด ช่วงเดือนกรกฎาคม ส่วนแถบตะวันออก อากาศในฤดูร้อน กับฤดูหนาว จะต่างกันอย่างชัดเจน แต่ไม่มากเท่ากับแถบตอนกลาง ส่วนแนวชายฝั่งทะเล ด้านตะวันตก อากาศในฤดูหนาว และฤดูร้อน จะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย และแถบตะวนตก อากาศใน ฤดูหนาว จะไม่เย็นจัดนักคล้ายกับฤดูใบไม้ผลิ แต่ในฤดูร้อน อากาศอาจสูงเท่ากับ แถบ เส้นศูนย์สูตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น